การดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน


วัตถุประสงค์

          1.  เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและทรัพยากร

          2. เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.)

          3. เพื่อพัฒนากิจกรรมการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับโรงเรียนสนามชัยเขต


การดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 

            โรงเรียนสนามชัยเขต ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 

รหัสสมาชิก 7-24160-001 

        ดำเนินกิจกรรมที่ประกอบด้วย 1 องค์ประกอบได้แก่ การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ การรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูกในโรงเรียน การศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ การรายงานผลการเรียนรู้ และการนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา ซึ่งแต่ละองค์ประกอบมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


          องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้

   กำหนดขอบเขตพื้นที่ศึกษา สำรวจพรรณไม้ ทำและติดป้ายรหัสประจำต้น บันทึกภาพพรรณไม้ หรือวาดภาพทางพฤกษศาสตร์ ตั้งชื่อหรือสอบถามข้อมูลพรรณไม้ ทำป้ายชื่อพรรณไม้ชั่วคราว ทำผัง แสดงตำแหน่งพรรณไม้ ศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ (ก.๗-๐๐๓) ทำตัวอย่างพรรณไม้ เปรียบเทียบ ข้อมูลกับเอกสาร เรียนรู้ชื่อที่เป็นสากล ทำทะเบียนพรรณไม้ (ก.๗-๐๐๕) ตรวจสอบความถูกต้องของ ทะเบียนพรรณไม้ และจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้สมบูรณ์เพื่อให้รู้จัก รู้ประโยชน์ของพรรณไม้

          - เอกสาร ก.๗-๐๐๓ (ดูเอกสาร)


          องค์ประกอบที่ 2 การรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูกในโรงเรียน

        เรียนรู้พืชพรรณและสภาพพื้นที่วิเคราะห์พื้นที่ พิจารณาคุณและสุนทรียภาพพรรณไม้ ทำผังภูมิทัศน์ จัดหาพรรณไม้ปลูก ดูแลรักษาและออกแบบบันทึกการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เห็นคุณ รู้ค่า ของพืชพรรณ


        องค์ประกอบที่ 3 การศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ

        การนำทรัพยากรธรรมชาติมาเป็นปัจจัยในการเรียนรู้ โดยการใช้ปัจจัยหลายปัจจัยในชนิด เดียวกันหรือต่างชนิดกัน เพื่อให้เห็นความต่าง เมื่อเห็นความต่าง ก็จะเกิดจินตนาการอันจะนำไปสู่การใช้ ประโยชน์ในงานแต่ละด้าน


          องค์ประกอบที่ 4 การรายงานผลการเรียนรู้

รวบรวมผลการเรียนรู้ วิเคราะห์ เรียบเรียงสาระ จัดระเบียบข้อมูลสาระแต่ละด้าน จัดลำดับสาระ หรือกลุ่มสาระ เรียนรู้รูปแบบการเขียนรายงาน วิธีการรายงานผลในรูปแบบต่างๆ เพื่อสื่อผลการเรียนรู้ อย่างเป็นระบบ


          องค์ประกอบที่ 5 การนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา

การบูรณาการสู่การเรียนการสอนในกลุ่มสาระ และสาขาวิชาต่างๆ การเผยแพร่องค์ความรู้ การสร้าง การใช้ การดูแลรักษา และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อการใช้ประโยชน์องค์ความรู้ในวงกว้าง